โครงการอบรม “การจัดการความรู้บุคลากร วช. (Knowledge Management: KM) เกี่ยวกับระบบพนักงานราชการและสิทธิประโยชน์”
ผู้เข้าร่วมอบรม เปิดรับ
0 คน 120 คน

หลักสูตรนี้ปิดลงทะเบียนแล้ว

สอบถามข้อมูล กรุณาติดต่อผู้ดูแลหลักสูตร/ผู้ดูแลระบบ

หลักการและเหตุผล :

ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่าส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรภาครัฐ ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และลูกจ้างโครงการ ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนางาน พัฒนาคน และการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการรวบรวมองค์ความรู้จากความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (tacit knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และความรู้แบบชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม และถ่ายทอดผ่านวิธีการต่าง ๆ มาพัฒนาเป็นระบบเพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองตลอดจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะพนักงานราชการ ซึ่งเป็นบุคลากรกลุ่มสำคัญในการสนับสนุนข้าราชการในการปฏิบัติงานขับเคลื่อนงานตามพันธกิจและเป้าหมายขององค์กร ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการกับพนักงานราชการ คือ การพัฒนาความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานให้สูงมากขึ้น นอกจากความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะที่พนักงานราชการจะต้องได้รับการพัฒนาแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนาหรือให้ความรู้ควบคู่กัน คือ การสร้างความตระหนักในหน้าที่ของบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ความรู้เกี่ยวกับระบบพนักงานราชการ ซึ่งมอบอำนาจให้ส่วนราชการสามารถบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสม ภายใต้ระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การบริหารระบบพนักงานราชการเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการการบริหารพนักงานราชการ ซึ่งสอดคล้องตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของพนักงานราชการในเรื่อง การสรรหาและเลือกสรร ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และแนวทางการดำเนินการทางวินัย เป็นต้น

จากความสำคัญข้างต้น กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) จึงกำหนดจัดโครงการอบรม “การจัดการความรู้บุคลากร วช. (Knowledge Management: KM) เกี่ยวกับระบบพนักงานราชการและสิทธิประโยชน์” เพื่อให้พนักงานราชการได้เข้าใจ รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบพนักงานราชการ และสิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ ตลอดจนสามารถใช้สิทธิตามกฎหมาย กฎ ระเบียบได้อย่างถูกต้อง โครงการดังกล่าวดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี พ.ศ. 2567

วัตถุประสงค์ :

1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบพนักงานราชการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
2. ผู้เข้าอบรมสามารถใช้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักรัฐ องตนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับระบบพนักงานราชการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการให้กับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

โครงสร้างหลักสูตร :

1. ระบบพนักงานราชการและสิทธิประโยน์ของพนักงานราชการ
1.1 ระบบพนักงานราชการ
1.2 ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ
1.3 สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.3.1 สิทธิการลาประเภทต่าง ๆ จำนวนวันลา และการได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา
1.3.2 สิทธิประโยชน์อื่น ๆ
1.3.3 สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน
1.3.4 การได้รับค่าตอบแทนกรณีออกจากงานโดยไม่มีความผิด
1.4 แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
1.5 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
2. เสริมสร้างแรงจูงใจ ปลุกไฟในการทำงาน
2.1 การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 การปรับตัวและการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
2.4 การบริหารจัดการอารมณ์ในการทำงาน

วิทยากร :
วิทยากรจากหน่วยงานภายนอก
กําหนดการอบรม :

ระหว่างวันที่ 18 - 19 กรกฎาคม 2567 

สถานที่จัดอบรม :
จังหวัดชลบุรี

กลุ่มเป้าหมาย :

พนักงานราชการ

วิธีการอบรม :

การบรรยาย 

การตอบข้อซักถาม 

การประเมินความรู้ก่อน และหลังการอบรมฯ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบพนักงานราชการ และสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ

2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้สิทธิประโยชน์ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบพนักงานราชการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการให้กับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

ตัวชี้วัดและและความสำเร็จของโครงการ :

1. ผู้ผ่านการอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบพนักงานราชการและสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
2. ผู้ผ่านการอบรมสามารถใช้สิทธิประโยชน์ของตนเองได้อย่างเต็มถูกต้อง เหมาะสม มากกว่าร้อยละ 80

 

การประเมินโครงการ :

1. ประเมินการเรียนรู้ โดยเครื่องมือทดสอบก่อน (Pre-test) หลังการอบรม (Post-test)
2. ประเมินผลการอบรม โดยแบบประเมินผลความพึงพอใจ ผ่านระบบออนไลน์
3. ประเมินพฤติกรรม โดยใช้แบบติดตามภายหลังการอบรม ผ่านระบบออนไลน์

งบประมาณ :

งบรายจ่ายอื่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตทรัพยากรบุคคล วช. เพื่อรองรับระบบวิจัยของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

หน่วยงานรับผิดชอบ :

งานพัฒนาและฝึกอบรม กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

31501