On the job Training (สำหรับ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ)
ผู้เข้าร่วมอบรม เปิดรับ
2 คน 1 คน

หลักสูตรนี้ปิดลงทะเบียนแล้ว

สอบถามข้อมูล กรุณาติดต่อผู้ดูแลหลักสูตร/ผู้ดูแลระบบ

หลักการและเหตุผล :

     ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และรูปแบบการดำเนินงานเพื่อให้รองรับกับสภาวะ การแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญด้วยนั้นคือ แผนงาน  หรือโครงการที่ได้กำหนดไว้ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดผลกระทบ ดังนั้น  การบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการบริหารโครงการ เป็นการจัดการ 

     การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลภายใต้เวลาที่จำกัด ในเงื่อนไขของเวลา  งบประมาณ และคุณภาพ ซึ่งเป็นหัวใจของการบริหาร หากบุคลากรผู้มีความเข้าใจ แนวทาง ขั้นตอน  กระบวนการทำงานการบริหารโครงการได้อย่างถูกต้อง จะส่งผลต่อระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ลดลง เกิดความ สะดวกรวดเร็ว และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  

     การบริหารโครงการมีความสำคัญต่อแผนงาน หรือโครงการที่ได้กำหนดไว้ โดยองค์ประกอบภายใต้ แผนงาน โครงการ ประกอบด้วยกิจกรรมที่สนับสนุนโครงการ ความคาดหวังให้เกิดความคุ้มค่าในการ ดำเนินงาน ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบชัดเจน เหมาะสมกับระยะเวลาและ งบประมาณที่กำหนดไว้การดำเนินการให้สำเร็จจึงต้องอาศัยการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้อง และสนับสนุนแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบ การดำเนินงานของโครงการจะต้องได้รับการใส่ใจจาก ผู้รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญโครงการจะต้องได้รับการตรวจสอบและประเมินอย่างจริงจัง ทั้งนี้  เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  

     ดังนั้น การบริหารโครงการ จึงหมายถึงการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการ จัดทำโครงการ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนโยบายของรัฐได้  สอดคล้องตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีหน้าที่และอำนาจในการให้ทุนวิจัยและ นวัตกรรม การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ การริเริ่ม ขับเคลื่อน และประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรม การวิจัย การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้าน การวิจัยและนวัตกรรมและการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคล หรือหน่วยงานด้านการวิจัยและ นวัตกรรม จากบทบาทดังกล่าวการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ 

     ประสบผลสำเร็จได้ในทุกมิติสอดคล้องตามพันธกิจ ยุทธศาสตร์ขององค์กร  

     จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) จึงกำหนดให้มีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การ บริหารโครงการมืออาชีพ” (Project Management Professional) เพื่อเสริมทักษะ สร้างความเข้าใจ แก่ บุคลากร วช. เกี่ยวกับการบริหารโครงการแบบมืออาชีพ บุคลากร วช. จะสามารถเข้าใจหลักการ เครื่องมือ  วิธีการ วางแผนการบริหารโครงการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมโครงการให้สำเร็จตามที่ กำหนด จัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการแผนงาน  หรือโครงการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ซึ่งดำเนินการสอดคล้อง ตามแผนบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระยะ ๔ ปี(พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) แผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของข้าราชการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  และแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร วช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖6 

วัตถุประสงค์ :

2.1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญในการวางแผนและบริหารโครงการแบบ มืออาชีพ 

2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจแนวคิด หลักการ ขั้นตอน และการวางแผนและบริหารโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ 

2.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ วิธีการ ในการวางแผนและบริหาร โครงการอย่างเป็นระบบ 

2.4 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างหลักสูตร :

3.1 การบริหารจัดการโครงการ 

3.1.1 การวางแผนโครงการ 

3.1.2 เป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ 

3.1.3 การจัดทำแผนงานสำหรับโครงการ 

3.1.4  การติดตามและควบคุม 

3.2 การออกแบบและวางแผนโครงการ 

3.2.1 การกำหนดปัญหา 

3.2.2 การตรวจสอบปัญหาและสาเหตุของปัญหา 

3.2.3 เทคนิคการแก้ปัญหา 

3.3 เทคนิคการบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพ 

3.3.1 ทักษะที่สำคัญสำหรับการบริหารโครงการ 

3.3.2 หลักการบริหารโครงการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่วางแผนไว้ 

3.3.3 เครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้บริหารจัดการโครงการ 

วิทยากร :
รองศาสตราจารย์ ดร.วิพุธ อ่องสกุล  ผู้อำนวยการโครงการ Young Executive MBA/ Executive MBA  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 
กําหนดการอบรม :

ระหว่างวันที่ ...

เวลา ... น.

สถานที่จัดอบรม :
-

กลุ่มเป้าหมาย :

-

วิธีการอบรม :

การบรรยาย 

การฝึกปฏิบัติ 

การตอบข้อซักถาม 

การประเมินความรู้ก่อน และหลังการอบรมฯ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

ผลผลิต บุคลากร วช. ที่ผ่านการอบรมมีความเข้าใจหลักการ เครื่องมือ วิธีการ และวางแผนการ บริหารโครงการเพิ่มขึ้น 

ผลลัพธ์บุคลากร วช. ที่ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ วิธีการและแนวคิดที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ กับการบริหารโครงการที่รับผิดชอบ และสามารถพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาเป็นโครงการในการพัฒนา องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดและและความสำเร็จของโครงการ :

1. ร้อยละ 8๐ ของผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจการบริหารโครงการเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเข้ารับ การฝึกอบรม 

2. ร้อยละ 8๐ ของผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถนำความรู้ด้านการบริหารโครงการ  มาปรับใช้ในการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม 

 

การประเมินโครงการ :

การประเมินผลโครงการ 

1. ประเมินการเรียนรู้ โดยเครื่องมือทดสอบก่อน (Pre-test)-หลังการอบรม (Post-test) ๑๑.๒ ประเมินผลการอบรม โดยเครื่องมือแบบประเมินผลความพึงพอใจ  

2.ประเมินพฤติกรรม โดยใช้แบบติดตามภายหลังการอบรม

งบประมาณ :

งบรายจ่ายอื่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตทรัพยากร บุคคล วช. เพื่อรองรับระบบวิจัยของประเทศ 

หน่วยงานรับผิดชอบ :

กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

26196