โครงการอบรม “PMQA 4.0 กับการขับเคลื่อนสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (รัฐ)” 2
ผู้เข้าร่วมอบรม เปิดรับ
0 คน 2 คน

หลักสูตรนี้ปิดลงทะเบียนแล้ว

สอบถามข้อมูล กรุณาติดต่อผู้ดูแลหลักสูตร/ผู้ดูแลระบบ

หลักการและเหตุผล :

 

การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในปัจจุบันยังคงเป็นแรงกดดันสำคัญสำหรับทุกองค์กร การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการดำเนินการให้เท่าทันต่อแรงกดดันเหล่านั้นในยุคแห่งการ Disruption และสถานการณ์ที่เป็น New Normal ทำให้สภาพการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ธุรกิจหลายองค์กรพบกับความพ่ายแพ้ที่เกิดจาก “คู่แข่งใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน” หน่วยงานราชการเองแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่ไม่รุนแรงเทียบเท่าบริษัทเอกชน แต่ก็เรียกได้ว่ามีแรงกดดันจากการแข่งขัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน หากหน่วยงานภาครัฐบริหารจัดการ โดยไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงและไม่เข้าใจเรื่องการแข่งขัน หน่วยงานภาครัฐเองก็อาจจะประสบกับปัญหาได้

เกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เป็นกรอบแนวคิดของการบริหารจัดการของ องค์กรชั้นเลิศเทียบเท่ากับเกณฑ์การบริหารจัดการระดับสากลที่ใช้มาอย่างยาวนานทั่วโลก เป็นกรอบแนวคิด ที่กระตุ้นให้ส่วนราชการทำความเข้าใจบริบทแวดล้อมขององค์กรตนเอง และมีวิธี “เลือกใช้เครื่องมือ (Toolkit) ในการบริหารจัดการ” ให้เหมาะกับบริบทขององค์กรให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้นหากองค์กรนำ PMQA มาเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนา จะทำให้มีความเข้าใจบริบทแวดล้อมขององค์กรแล้ว จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทองค์กรอย่างบูรณาการและลงตัวเพื่อให้ได้รับผลการดำเนินงานในระยะยาว

จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) เห็นว่าการพัฒนา PMQA ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องนำแนวทางของ PMQA 4.0 ได้แก่ การสานพลังทุกภาคส่วน การสร้างนวัตกรรม และการปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล มาขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ ก้าวสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมเรื่องดังกล่าว คือข้าราชการระดับผู้อำนวยการกอง กลุ่ม ภารกิจ ระดับผู้อำนวยการกลุ่มงาน หัวหน้าฝ่าย หรือผู้ได้รับมอบหมาย ข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภททั่วไป ระดับอาวุโส เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่าง PMQA กับภารกิจที่รับผิดชอบ จึงจัดให้มีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ PMQA 4.0 กับการขับเคลื่อนสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (รัฐ)” เพื่อให้ข้าราชการมีความเข้าใจหลักแนวคิดของ PMQA และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วัตถุประสงค์ :

2.1  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจหลักการ แนวคิดของ PMQA 4.0 อย่างเป็นระบบ

2.2 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง  ระหว่างผู้เข้าอบรมกับวิทยากร

2.3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้

2.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำแนวคิดที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจที่กำหนดไว้เพื่อยกระดับสู่ระบบราชการ ๔.๐

โครงสร้างหลักสูตร :

3.1 ความเข้าใจในหลักการ แนวคิดของคุณภาพการบริหารองค์การตามแนวทาง PMQA 4.0

3.2 ความเชื่อมโยงในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจหลักการ แนวคิดการบริหารองค์การตาม

แนวทาง PMQA  4.0 ตามบริบทของ วช.

3.3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA และการ

นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

วิทยากร :
ว่าที่ร้อยตรีจักริน อึ้งตระกูล กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม
กําหนดการอบรม :

กำหนดการ

สถานที่จัดอบรม :
-

กลุ่มเป้าหมาย :

-

วิธีการอบรม :

8.1 การบรรยาย/ อภิปราย

8.2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแบ่งปันแนวคิด

8.3 ตอบข้อซักถาม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

9.1 ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจหลักการ แนวคิดของ PMQA 4.0 อย่างเป็นระบบ

9.2 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างผู้เข้าอบรมกับวิทยากร

9.3 ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้

9.4 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำแนวคิดที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจที่กำหนดไว้เพื่อยกระดับสู่ระบบราชการ ๔.๐

ตัวชี้วัดและและความสำเร็จของโครงการ :

10.1 ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีเข้าใจในหลักการ แนวคิดพื้นฐานของคุณภาพการบริหารองค์การตามแนวทางของ PMQA  เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม

10.2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้

การประเมินโครงการ :

11.1 ประเมินการเรียนรู้   โดยใช้แบบทดสอบออนไลน์ ก่อนการอบรม (Pre-test) และหลังการอบรม (Post-test)

11.2 ประเมินผลการอบรม  โดยแบบประเมินผลความพึงพอใจ ผ่านระบบออนไลน์

11.3 ประเมินพฤติกรรม โดยใช้แบบติดตามภายหลังการอบรม ผ่านระบบออนไลน์

งบประมาณ :

งบรายจ่ายอื่น ประจำปี 2567 โครงการพัฒนานักยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมดำเนินงานตามแผนการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม

หน่วยงานรับผิดชอบ :

กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) ร่วมกับกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (ก.พ.ร.)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รายละเอียดหลักสูตร :
00 โครงการ PMQA
26194