โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากการวิจัย (Research Impact Evaluation) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)”
ผู้เข้าร่วมอบรม เปิดรับ
61 คน 150 คน

หลักสูตรนี้ปิดลงทะเบียนแล้ว

สอบถามข้อมูล กรุณาติดต่อผู้ดูแลหลักสูตร/ผู้ดูแลระบบ

หลักการและเหตุผล :

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ ตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ 2566 – 2570 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยเทคโนโลยี และนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากําลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

การประเมินผลกระทบจากการวิจัย เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในระดับสากลเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะหน่วยงานผู้กำหนดนโยบายด้านการวิจัยของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ได้นำแนวคิดการสนับสนุนทุนวิจัยโดยมีเป้าหมายในการสร้างผลกระทบต่อประเทศชาติเป็นประเด็นสำคัญในการจัดสรรทุนวิจัยและขับเคลื่อนงานวิจัยของประเทศภายใต้ ๒ เหตุผลสำคัญ (1) เพื่อเป็นแนวทางจัดสรรงบประมาณการวิจัยอันเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องจัดลำดับความสำคัญของการวิจัยบนพื้นฐานเป้าหมายของภาครัฐในการสนับสนุนการวิจัย และ (2) เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการลงทุนจากการสร้างผลกระทบ โดยวิเคราะห์ผลลัพธ์และผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังให้มีการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับการฝึกอบรมการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยและพัฒนา เป็นกิจกรรมสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความตระหนักให้แก่เจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีองค์ความรู้ด้านการประเมินผลกระทบที่สูงและสามารถตรวจสอบงานวิจัยในการจัดสรรทุนวิจัยเพื่อสร้างผลกระทบแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยภายใต้หลักสูตรการอบรมผลกระทบจากโครงการวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อการบรรยาย ดังนี้ 1) ความสำคัญและแนวทางการประเมินผลกระทบจากการวิจัย 2) การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุน และ 3) การประเมินมูลผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากงานวิจัย โดยองค์ความรู้ดังกล่าวจะเป็นความรู้พื้นฐานให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมฯในการสร้างผลกระทบ และเตรียมพร้อมในการรับการตรวจสอบจากผู้ประเมินตามนโยบายของหน่วยงานจัดสรรทุนต่อไปได้เป็นอย่างดี

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) ร่วมกับภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ภท.) และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (ก.พ.ร.) จึงได้กำหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย (Research Impact Evaluation) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)” ในระหว่างวันที่ 27 - 28 เมษายน 2567 ณ โรงแรม ในต่างจังหวัด โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัยของบุคลากร วช. ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในการจัดทำเส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย (Research Impact Pathway) เป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร วช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และแผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของข้าราชการ วช.

วัตถุประสงค์ :
  • เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
  • เพื่อฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถสังเคราะห์เส้นทางสู่ผลกระทบจากงานวิจัย
  • เพื่อฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถวิเคราะห์มูลค่าของผลกระทบจากงานวิจัยในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างหลักสูตร :
  • ความสำคัญและแนวทางการประเมินผลกระทบจากการวิจัย
  • การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุน
  • การประเมินมูลผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากงานวิจัย
  • แนะนําการใช้ Template เส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย (Impact Pathway) และการคํานวณผลกระทบของโครงการวิจัย
  • ฝึกปฏิบัติโครงการกรณีศึกษา จำนวน 8 โครงการ

 

วิทยากร :
รศ. ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล วิทยากร ,รศ. ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล วิทยากร ,ผศ.ดร.นภสม สินเพิ่มสุขสกุล วิทยากร ,นายบุญฤทธิ์ พานิชเจริญ ผู้ช่วยวิทยากร
กําหนดการอบรม :

ระหว่างวันที่ 27 – 28 เมษายน พ.ศ. 2567

เวลา 09.00 – 17.00 น.

สถานที่จัดอบรม :
ณ โรงแรมโนโวเทล มารีน่า ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

กลุ่มเป้าหมาย :

บุคลากร วช. ที่ปฏิบัติงานด้านการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม

วิธีการอบรม :
  • บรรยาย
  • ฝึกปฏิบัติ
  • กรณีศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

บุคลากร วช. มีความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบจากการวิจัย (Research Impact Evaluation) ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถนำความรู้จาการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้

ตัวชี้วัดและและความสำเร็จของโครงการ :
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถมีความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบจากการวิจัย (Research Impact Evaluation)
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
การประเมินโครงการ :
  • ประเมินการเรียนรู้       โดยใช้แบบประเมินผลก่อน (pre-test) และหลัง (post-test) การอบรม ผ่านระบบออนไลน์
  • ประเมินผลการอบรม   โดยแบบประเมินผลความพึงพอใจ ผ่านระบบออนไลน์
  • ติดตามภายหลังการอบรม  ***บุคลากรที่เข้ารับการอบรมจะต้องส่งผลงานที่นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปปรับในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ) จึงจะถือได้ว่าผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรดังกล่าว
งบประมาณ :

งบกองทุน ววน. (SF) ประจำปีงบประมาณ 2566 (พลางก่อน) โครงการพัฒนาระบบบริหารราชการเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามแผน ววน. ของ ก.พ.ร.

หน่วยงานรับผิดชอบ :
  • ภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ภท.)
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (ก.พ.ร.)
  • กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.)

 

 

รายละเอียดหลักสูตร :
รายละเอียดโครงการและกำหนดการ
26193