โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และการจัดทำรายงานการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ”
ผู้เข้าร่วมอบรม เปิดรับ
46 คน 50 คน

หลักสูตรนี้ปิดลงทะเบียนแล้ว

สอบถามข้อมูล กรุณาติดต่อผู้ดูแลหลักสูตร/ผู้ดูแลระบบ

หลักการและเหตุผล :

การปฏิบัติงานในส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าการเขียนหนังสือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะหนังสือราชการ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ ที่ใช้หนังสือราชการเป็นสื่อกลางในการติดต่อ สื่อสาร ประสานงานในรูปแบบลายลักษณ์อักษรที่สามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงได้ การจัดทำหนังสือราชการที่ดีจะต้องเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 การเขียนหนังสือราชการที่ดีจะต้องเขียนให้ผู้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ ความต้องการของผู้เขียน จึงจะถือว่าการเขียนหนังสือราชการนั้นมีคุณภาพ แต่ปัจจุบันมักจะพบปัญหาที่เกิดจากการจัดทำหนังสือราชการ เช่น การจัดทำรูปแบบหนังสือราชการที่ไม่ถูกต้อง เนื้อหาที่เข้าใจยาก ไม่ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องมีทักษะในเรื่องดังกล่าว โดยสามารถเขียนหนังสือราชการให้ถูกต้องตามระเบียบฯ มีการใช้ภาษาที่ดี กระชับ สละสลวย ชัดเจน สามารถชี้แจงวัตถุประสงค์ของผู้เขียนได้อย่างตรงประเด็น เข้าใจง่าย ซึ่งจะช่วยในการติดต่อสื่อสารและสร้างทัศนคติที่ดีแก่ผู้ที่ต้องการติดต่อหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร นอกจากนั้นยังบ่งบอกถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากรและองค์กร ดังนั้น การเขียนหนังสือราชการมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนให้ดี เหมาะสม ชัดเจน เข้าใจง่าย และถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณเพื่อเป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

ในการนึ้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นของบุคลากรในองคกร ให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเขียนหนังสือราชการสำหรับติดต่อสื่อสารทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) จึงกำหนดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และการจัดทำรายงานการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ” ขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะในการเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุมให้แก่บุคลากร วช. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างโครงการที่บรรจุแรกเข้ารับราชการใหม่ ให้มีทักษะในเรื่องดังกล่าว สามารถเขียนหนังสือติดต่อราชการได้อย่างถูกต้อง ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 ของสำนักงาน ก.พ. ในการพัฒนาองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น

วัตถุประสงค์ :

2.1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและหลักสำคัญในการเขียนหนังสือ ราชการ หนังสือโต้ตอบ พัฒนาทักษะการใช้ภาษาทางราชการในการเขียนหนังสือราชการ วาระการประชุม และรายงานการประชุมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและสื่อความหมายได้ชัดเจน

2.2 เพื่อพัฒนาทักษะในการจับประเด็น จดบันทึกประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและสามารถ สรุปใจความสำคัญได้ถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

2.3 เพื่อพัฒนาทักษะในการเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ การจัดทำรายงานการประชุม และสามารถถ่ายทอดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โครงสร้างหลักสูตร :

3.1 รูปแบบและหลักการสำคัญในการเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และการจัดทำรายงานการประชุม

3.2 การพัฒนาการเขียนหนังสือราชการ การเขียนหนังสือโต้ตอบ และการเขียนรายงานการประชุม

3.3 การวิเคราะห์และเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษาที่เหมาะสมสำหรับการเขียนหนังสือราชการและฝึกปฏิบัติ

3.4 กรณีศึกษา ตัวอย่างหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และการจัดทำรายงานการประชุม

วิทยากร :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. ธนู ทดแทนคุณ และทีมงาน 
กําหนดการอบรม :

วันที่ 13-14 มกราคม 2568 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

สถานที่จัดอบรม :
ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

กลุ่มเป้าหมาย :

ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างโครงการ

วิธีการอบรม :

8.1 การบรรยาย

8.2  การฝึกปฏิบัติ

8.3  การตอบข้อซักถาม

8.4  การประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมฯ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

ผลผลิต บุคลากร วช. ที่ผ่านการอบรมมีความรู้มีความเข้าใจและเกิดทักษะในการเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และการจัดทำรายงานการประชุมเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ บุคลากร วช. ที่ผ่านการอบรมสามารถเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และรายงานการประชุมในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงาน ได้อย่างถูกหลักและถูกต้อง

ตัวชี้วัดและและความสำเร็จของโครงการ :

10.1 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีทักษะ ความเข้าใจในการเขียนหนังสือราชการ และรายงานการประชุมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการอบรม

10.2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การประเมินโครงการ :

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

งบประมาณ :
-
หน่วยงานรับผิดชอบ :

กลุ่มทรัพยากรบุคคล (ทบ.) สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

37277